วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

biomolegule

"สอนคนให้เป็นคนดี  ไม่ใช่สอนเขาให้มีแต่ความรู้"

วัตถุประสงค์  บูรณาการฐานงานเต้าเจี้ยว-ซีอิ้ว ด้วยวิชาชีววิทยา  บทเรียนสารชีวโมเลกุล
                      ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6
                      ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย   วิชาชีววิทยา  หัวข้อวิชาฃีวโมเลกุล
      


1.     สาร A เป็นสารจำพวกเพปไทด์ชนิดหนึง มีสูตรโครงสร้างดังแสดง


จำนวนหน่วยชองกรดอะมิโนในสาร A  มีทั้งหมดกี่หน่วย

1.  8
2.  9
3.  10
4.  11

ตอบ  ข้อ 2   

อธิบาย

Amino acid




Structure of an Amino Acid
Amino acids are the monomers that make up proteins. Each amino acid has the same fundamental structure , which consists of a central carbon atom, also known as the alpha (α) carbon, bonded to an amino group (NH2), a carboxyl group (COOH), and to a hydrogen atom. In the aqueous environment of the cell, the both the amino group and the carboxyl group are ionized under physiological conditions, and so have the structures -NH3+ and -COO-, respectively. Every amino acid also has another atom or group of atoms bonded to the central atom known as the R group. This R group, or side chain, gives each amino acid proteins specific characteristics, including size, polarity, and pH.

กรดอะมิโนเป็นหน่วยโครงสร้าง (Building block) ที่เล็กที่สุดของโปรตีนโครงสร้างทางเคมีของ กรดอะมิโน ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ หมู่คาร์บอกซิล (-COOH) หมู่อะมิโน (-NH2) หมู่ R หรือหมู่โซ่ข้างและไฮโดรเจนอะตอม (H) โดยที่หมู่คาร์บอกซิลจะแสดงความเป็นกรด หมู่อะมิโนจะแสดง
ความเป็นด่างและ หมู่ R จะแสดงถึงความแตกต่างกันของกรดอะมิโนแต่ ละชนิด หมู่ต่าง ๆ เหล่านี้จะเกาะอยู่ที่แขนของคาร์บอน (C)อะตอมเดียวกัน เรียกคาร์บอนศูนย์กลางนั้น  ว่า แอลฟาคาร์บอนอะตอม (a - carbon atom)  

1.  หมู่คาร์บอกซิล (-COOH) และ หมู่อะมิโน (-NH2) จะเป็นส่วนพื้นฐานของกรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิด
2. หมู่ R จะแสดงความแตกต่างของกรดอะมิโนแต่ละชนิด

พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล   
                                                                           

ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง  หมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนจะเป็นหมู่พื้นฐานของกรดอะมิโนทุกฃนิดแต่ส่วนที่แตกต่างกันก็คือโซ่ข้าง / แขนงข้าง / หรือหมู่ R นั่นเอง  โดยหมู่ R จะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน 20 ชนิด
1. หมู่คาร์บอกซิลจะให้โปรตอนเป็นคาร์บอกซิเลตไอออน
2. และกรดอะมิโนจะรับไปรตอนกลายเป็น แอมโมเนียมไอออน
3.  การให้และรับโปรตอนนี้จะเกิดขึ้นภายในโมเลกุลเดียวกัน

ดังนั้นการเขียนโครงสร้างของกรดอะมิโนจะสามารถเขียนในรูป  Switterion  หรือ Dipolar ion

การเกิดเป็น Switterion  หรือ Dipolar ion จะส่งผลต่อคุณสมบัติของกรดอะมิโนคือ มีจุดหลอมเหลวสูงมากและละลายน้ำได้และมีจุดหลอมเหลวสูงมากประมาณ 200-300 oกรดอะมิโนมักละลายน้ำได้ซึ่งมีสมบัติคล้ายสารประกอบไอออนนิก


Peptide Bonds

The sequence and the number of amino acids ultimately determine the protein's shape, size, and function. Each
amino acid is attached to another amino acid by a covalent bond, known as a peptide bond. When two amino acids are covalently attached by a peptide bond, the carboxyl group of one amino acid and the amino group of the incoming amino acid combine and release a molecule of water. Any reaction that combines two monomers in a reaction that generates H2O as one of the products is known as a dehydration reaction, so Peptide bond formation is an example of a dehydration reaction .
 

A peptide bond is a chemical bond formed between two molecules when the carboxyl group of one molecule reacts with the amino group of the other molecule, releasing a molecule of water (H2O).
This is a dehydration synthesis reaction (also known as a condensation reaction), and usually occurs
between amino acids.
The resulting CO-NH bond is called a peptide bond, and the resulting molecule is an amide.

เอไมด์ (amide) คือ สารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H, O และ N เกิดจากหมู่แอมิโน (-NH2) เข้าไปแทนที่หมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ในกรดคาร์บอกซิลิก

ในการสร้างพันธะเพปไทด์นั้นโดยปกติระหว่างการทำปฏิกิริยากันต้องมีกรดหรือเอนไซม์มาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาอยู่ด้วย
ในทางตรงกันข้ามเมื่อนำเพปไทด์มาทำปฏิกิริยากับน้ำโดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  พันธะเพปไทด์ก็จะสลายได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบของเพปไทด์นั้น เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของเพปไทด์
   

และถ้าเรานำเพปไทด์หรือโปรตีนขนาดใหญ่มาทำการไฮโดรไลซิสอย่างสมบูรณ์ก็จะได้กรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบทั้งหมดนั่นเอง

ดูรูปภาพของคำตอบครับ

เห็นไหมครับว่ามีทั้งหมด 9 หน่วยและมี 8 พันธะเพปไทด์  แต่เราไม่นับพันธะของตัว S นะครับ
ยืนยันตอบข้อ 2 ครับ

Credited :
Source: Boundless. “Amino Acids.” Boundless Biology. Boundless, 08 Jan. 2016. Retrieved 06 Feb. 2016 from https://www.boundless.com/biology/textbooks/boundless-biology-textbook/biological-macromolecules-3/proteins-56/amino-acids-303-11436/
http://www.sciencedaily.com/terms/peptide_bond.htm
https://www.youtube.com/watch?v=QhROGVeGD68
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=757987&chapter=4
https://www.boundless.com/biology/textbooks/boundless-biology-textbook/biological-macromolecules-3/proteins-56/amino-acids-303-11436/
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/


ฟังเพลงนะครับ
                                               "ผู้แพ้รัก"  ขับร้องโดย คุณมัฑนาโมรากุล

  
                                                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น