วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดุลยภาพของน้ำในร่างกาย

 Biology     Physics    Chemistry  Math


ข้อสอบเรื่องชีวโมเลกุล(1) ข้่อสอบเรื่องชีวโมเลกุล(2),
ข้่อสอบเรื่องชีวโมเลกุล(3)
ข้่อสอบเรื่องชีวเคมี

53. แหล่งผลิตฮอร์โมนควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกายได้โดยตรง ได้แก่อวัยวะพวกใด
      ก. Hypothalamus ข. pituitary
      ค. thyroidง. parathyroid
      จ. adrenal cortex ฉ. adrenal medulla
1. ก, ข, ค, ฉ2. ข, ค, ง, จ
3. ค, ง, จ, ฉ4. ก, ค, ง, จ


Ans. 4

พิจารณามี Hypothalamus แน่ เพราะฉนั้นข้อ 2,3 ตัดทิ้ง

ฉ. adrenal medulla ไม่ใช่ อวัยวะสำหรับแหล่งผลิตฮอร์โมนควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกายได้โดยตรง
จ. adrenal cortex เป็น อวัยวะสำหรับสร้างฮอร์โมน 3 กลุ่ม และกลุ่มฮอร์โมนมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoid)
เป็น ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ แอลโดสเตอโรน(aldosterone) ทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
อวัยวะเป้าหมาย : ไต (ท่อหน่วยไต)
ในการดูดน้ำและNa+ กลับเข้าสู่ท่อหน่วยไต
ขับ K+ ออกจากท่อหน่วยไต
ควบคุมความสมดุลของฟอสเฟต

ค. thyroid และ ง. parathyroid
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Glands) เป็นต่อมไร้ท่อประเภทที่จำเป็นต่อชีวิต
(Essentail endocrine gland) ขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์
ด้านละ 2 ต่อม รวมเป็น 4 ต่อม ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมน "พาราทอร์โมน" (Parathormone)
ซึ่งเป็นสารพอลิเพปไทด์ ประกอบด้วยกรดอะมิโน 84 โมเลกุล ทำหน้าที่ร่วมกับแคลซิโทนิน และ
วิตามินดี ต่อมพาราไทรอยด์ มีหน้าที่ผลิตพาราทอร์โมน (PTH) หรือ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งช่วย
รักษาสมดุลของแคลเซียม และฟอสฟอรัส ในเลือด และเนื้อเยื่อให้ปกติ โดยทำงานร่วมกับวิตามินซี
วิตามินดี และแคลซิโทนินซึ่งผลิตจากต่อมไทรอยด์ โดยหน้าที่สำคัญประกอบไปด้วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ osteoclasts ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก โดยวิตามินดีจะรวมกับพาราทอร์โมน
ช่วยสลายแคลเซียมออกจากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในเลือด
เพิ่มการดูดแคลเซียมกลับจากท่อหน่วยไตเข้าสู่เลือด ทำให้การขับถ่ายแคลเซียมไปกับปัสสาวะลดลง และมีระดับแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นกระตุ้นให้มีการ สังเคราะห์วิตามินดี เพิ่มขึ้นเพื่อทำให้มีการ
ดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นกระตุ้นการขับฟอสเฟตออกไปกับปัสสาวะ
การรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด  การทำงานของต่อมไทรอยด์ และพาราไทรอยด์
จะทำงานร่วมกัน เพื่อควบคุมสมดุลของปริมาณแคลเซียมในเลือด โดย
ถ้าแคลเซียมในเลือดสูง จะกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนแคลซิโทนิน เพื่อลดระดับแคลเซียม
ถ้าแคลเซียมในเลือดต่ำ จะกระตุ้นให้ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งพาราทอร์โมน เพื่อเพิ่มระดับแคลเซียม

ก. Hypothalamus


        ศูนย์ประสานงานในไฮโปธาลามัสควบคุมการทำงานของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ โดยมีกลไกที่ต่างกัน 3 ประการ คือ
1.ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
    1.1 Antidiuretic hormone(ADH) ผลิตโดย Supraoptic nucleus ควบคุมจำนวนน้ำ โยการดูดกลับที่ท่อไต กระตุ้นการหดตัวของ
         กล้ามเนื้อเรียบในผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหดตัว
    1.2 Oxytocin ผลิตโดย Paraventricular nucleus กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและต่อมน้ำนม ในเพศชายจะช่วยในการหลั่งอสุจิและช่วยในการเคลื่อนที่ของ sperm
       
2. เป็นศูนย์ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนใน
3. สร้างและหลั่งฮอร์โมนที่ไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า มี 2 ชนิด คือ
        3.1 Releasing hormone (RH) กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน
        3.2 Inhibiting hormone (IH) ยับยั้งการสร้างและหลั่งฮฮร์โมน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น